วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


ประวัติบ้านดินจี่

ราวปีพุทธศักราช 2314 เกิดความวุ่นวายขึ้นที่อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทร์ พระวอ พระตาซึ่งเป็นมหาเสนาบดี ได้ผิดใจกับพระเจ้าสิริบุญสารผู้ครองนครเีวียงจันทร์ จึงอพยพไพร่พล (พร้อมด้วยบรรพบุรุษของชาวบ้านดินจี่) ข้ามแม่น้ำโขงมาทางทิศใต้ มาที่สร้างบ้านแปลงเมืองใหม่ชื่อหนองบัวลุ่มภู(หนองบัวลำภู) แต่เจ้าสิริบุญสารยกทัพมาตีแตกพ่าย พระตาตายในสนามรบ พระวอและเจ้าผ้าขาว(เจ้าโสมพมิตร) และบรรดาเจ้าฟ้า ขุนนาง รวมทั้งไพร่พลจึงหลบหนีออกจากเมืองไปทางทิศตะวันออก เพื่อสมทบกับเจ้าคำสิงห์ซึ่งตั้งบ้านเมืองรอที่บ้านสิงห์ท่า(ปัจจุบันคือ เมืองยโสธร) เมื่อมาถึงบ้านผ้าขาวพันนา(เขตสกลนคร) เจ้าผ้าขาวหรือเจ้าโสมพมิตรได้ขอแยกหยุดพักตั้งหลัก และเดินทางลงใต้ข้ามเทือกเขาภูพานมาตั้งหลักที่บ้านกลางหมื่น(ปัจจุบันคือ ตำบลกลางหมื่น อ.เมืองกาฬสินธุ์) พักได้ปีเศษก็พบทำเลเหมาะจึงย้ายไพร่พลไปตั้งบ้านแก่งสำโรงที่ชายดงสง เปลือย(เมืองกาฬสินธุ์ปัจจุบัน)ราวๆปี พุทธศักราช 2336 ก็ได้รับการตั้งเป็นเมืองกาฬสินธุ์มีเจ้าโสมพมิตรเป็นเจ้าเมืองคนแรก นามว่า พระยาชัยสุนทร
              ส่วนทางด้านของพระวอพร้อมด้วยเจ้าคำผง ได้พาไพร่พลเดินทางไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เพื่อไปพบเจ้าคำสิงห์ที่บ้าน สิงห์ท่า แต่เนื่องจากพระวอเห็นว่าหากอยู่ที่นี่เกรงจะตายกันหมดจึงอยู่ไม่นานและก็ ย้ายลงใต้มาอยู่เกาะกลางลำน้ำมูลเรียกว่า "ดอนมดแดง"  ได้ขอพึ่งพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์อนุญาตให้อยู่ได้ ให้ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ในบริเวณตำบลเวียงดอน-กอง หรือที่เรียกว่าบ้านดู่บ้านแก (แขวงเมืองนครจำปาศักดิ์)
                ต่อมาใน พ.ศ. 2314 (จ.ศ. 1133 ปีเถาะ ตรีศก) รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระเจ้าสิริบุญสารทราบว่า พระวออพยพครอบครัวไพร่พลมาตั้งอยู่ที่เวียงดอนกอง แขวงเมืองนคร-จำปาศักดิ์ จึงให้อัครฮาดคุมกำลังกองทัพลงมาปราบปรามพระวออีกเมื่อพระเจ้าองค์หลวงไชย กุมาร ทราบเหตุ จึงให้พระยาพลเชียงสา ยกทัพจากเมืองนครจำปาศักดิ์ มาช่วยพระวอต้านทานทัพของพระ-เจ้าสิริบุญสาร พร้อมทั้งทรงมีศุภอักษรไปถึงพระเจ้าสิริบุญสาร เพื่อขอยกโทษให้พระวอ พระเจ้าสิริบุญ-สารมีพระราชสาส์นตอบมาว่า พระวอเป็นคนอกตัญญู จะเลี้ยงไว้ก็คงไม่มีความเจริญแต่เมื่อเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ให้มาขอโทษไว้ ดังนี้แล้ว ก็จะยกให้มิให้เสียไมตรีจากนั้นพระองค์จึงโปรดให้อัครฮาดยกกำลังกองทัพกลับนครเีวียงจันทร์
                  ในปลายปี พ.ศ. 2314 พระวอเกิดขัดใจกับพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารเกี่ยวกับกรณีการสร้างเมืองใหม่ ที่ตำบลศรีสุมังของพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร จึงอพยพครอบครัวไพร่พลมาอยู่ที่บริเวณดอนมดแดง (ริมฝั่งซ้ายแม่น้ำมูล ห่างจากที่ตั้งศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ไปทางทิศตะวันออกระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร)
                    ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2319 (จ.ศ. 1138 ปีวอก อัฐศก) พระเจ้าสิริบุญสารทราบข่าวการทะเลาะวิวาทระหว่างพระวอกับพระเจ้าองค์หลวงไชย กุมาร พระวออพยพครอบครัวไพร่พล มาอยู่ที่ดอนมดแดง พระองค์จึงแต่งตั้งให้พระยาสุโพคุมกำลังกองทัพไปรุกรานพระวออีกครั้งหนึ่ง พระวอเห็นว่ากำลังของตนมีน้อยคงไม่สามารถจะต้านทานไว้ได้ จึงอพยพครอบครัวไพร่พลกลับไปอยู่ที่เวียงดอน-กองตามเดิม พร้อมกับขอกำลังกองทัพจากพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร เมืองจำปาศักดิ์มาช่วยเหลือ แต่เจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ไม่ยอมให้เพราะความบาดหมางใจกันเมื่อหลายปีก่อนผล ที่สุดกองกำลังของ พระวอจึงพ่ายแพ้ พระวอถูกจับได้และถูกประหารชีวิตที่เวียงดอนกองนั้นเอง ส่วนท้าวคำผง ท้าวฝ่าย-หน้า ท้าวทิดพรหม บุตรพระตา และท้าวก่ำ บุตรพระวอจึงได้พาครอบครัวไพร่พลหนีออกจากวงล้อมของกองทัพเีวียงจันทร์ เจ้าคำผงน้องเจ้าพระวอและบริวารจึงได้อพยพกลับไปยังดอนมดแดง แต่เนื่องจากเป็นที่ต่ำไม่เหมาะสมที่จะสร้างเมืองจึงอพยพขึ้นมาตามลำน้ำมูล ถึงห้วยแจระแม แล้วมาสร้างเมืองใหม่ที่ดงอู่ผึ้งเมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๓๒๒ แล้วมีหนังสือกราบบังคมทูลขอขึ้นอยู่ในขอบขัณฑสีมาของสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเมืองที่ตั้งว่า "เมืองอุบล" เพื่อเป็นการรำลึกถึงเมืองเดิมของตน(เจ้าคำผง) คือเมืองหนองบัวลุมภู จากนั้นเจ้าคำผงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าเมืองคนแรกของเมืองอุบล และได้รับพระราชทินนามว่า "พระปทุมสุรราช"
                     จากนั้นบรรพบุรุษของชาวบ้านดินจี่ก็ได้อพยพย้ายถิ่นจากบ้านแจละแม ขึ้นมาทางทิศเหนือตามแนวเทือกเขาภูพาน มาจนถึงพื้นที่ที่เหมาะสม สภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่ม มีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ เดิมเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวข่าชาวขอม(สมัยขอมเรืองอำนาจยุคเมืองฟ้าแดสงยาง ถึงยุคเมืองหนองหารหลวง เนื่องจากขุดพบวัตถุโบราณศิลปะขอมกระจายอยู่ทั่วไปแต่นที่ขุดพบส่วนใหญ่ขาย ไปหมดแล้ว เช่นลูกปัด กำไล กล้องยาสูบฯลฯ) จึงได้พากันจัดตั้งหมู่บ้านขึ้นมา แล้วต่อมาได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านไผ่ภูวงค์" ขึ้นสังกัดเมืองแซงกะดาน(ปัจจุบันคือ ต.แซงบาดาล อ.สมเด็จ) มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อ จันท้อยซึ่งใช้นามสกุลว่า อำแดง” (ซึ่งได้มีการขุดพบหลักฐานทางโบราณวัตถุ เชื่อกันว่าบริเวณดังกล่าว เป็นสถานที่ก่อสร้างที่เกี่ยวของกับพระพุทธศาสนา วัตถุที่ขุดพบคือ ไห ถ้วย จอบ เสียม พระพุทธรูปศิลปะแบบล้านช้าง ราวพุทธศตวรรษที่ 24 และ พบกำแพง ซึ่งเป็นลักษณะกำแพงวัด ล้วนแต่เป็นวัตถุโบราณจำนวนมากอยู่บริเวณทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้าน ดินจี่ปัจจุบัน ประมาณ 2 กิโลเมตร ซึ่งได้ทราบภายหลังว่า เป็นที่ตั้งวัดมาก่อน เรียกว่าวัดเหล่าใหญ่ ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวได้กลายเป็นทุ่งนาจนเกือบหมด ) 
                        หลายปีผ่านมาสมัยพร้อมกับตั้งเมืองกาฬสินธุ์  ได้มีผู้คนอีกกลุ่มหนึ่ง (เดิมอยู่บ้านไผ่ภูวงค์) แยกตัวออกมา ย้ายรกรากถอยร่นลงมาตั้งหมู่บ้านใหม่(ยังไม่ทราบเหตุผลที่แน่ชัดบางก็ว่า เกิดโรคระบาด บ้งก็ว่าหนีภัยจากสัตว์ร้ายซึ่งแต่ก่อนมีมากเพราะห่างจากภูเขาแ่ค่ 1 กิโลเมตร) ซึ่งได้บอกเล่ากันมาว่าได้มีพระสงฆ์รูปหนึ่ง (ชื่อหลวงปู่หลักคำ) เป็นผู้หนึ่งร่วมก่อตั้งเมืองกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยนายขี้เถ่า นางโหน่ง สองผัวเมียซึ่งเป็นผู้นำในการย้ายออกมาตั้งหมู่บ้านใหม่ เมื่อได้ก่อตั้งหมู่บ้านเสร็จแล้ว จึงได้พากันก่อสร้างวัด จึงได้พากันคิดและทำ แล้วไปหาขุดดินเหนียวบริเวณด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน(ปัจจุบันเรียกแถวนั้น ว่านาดินจี่) มาปั้นเป็นก้อนสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 6×12 นิ้วมาเผาไฟเพื่อเกิดความแข็งแรง เพื่อที่จะเอาไปก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ การเอาดินมาปั้นเป็นสี่เหลี่ยมแล้วนำมาเผาไฟนั้น จึงกลายมาเป็นก้อนอิฐ นำมาก่อสร้างเป็นฐานล่างของศาลาลงธรรมวัดโพธิ์ชัยดินจี่ (ศาลาการเปรียญหลังเดิม ประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันได้สูญหายไปหมดแล้ว) คงเหลือเพียงกำแพงวัดทางทิศตะวันออกแต่ก็ถูกโบกปูนทับจนไม่เหลือเค้าโครง เดิม และยังมีก้อนอิฐ บางส่วนที่ถูกเก็บไว้ใต้ฐานสิม หรืออุโบสถหลังปัจจุบัน เป็นจำนวนมากชาวบ้านเรืยก"สะดือสิม" (บ้างก็ว่าเก็บมาจากหล่าใหญ่ แต่บ้างก็ว่าเป็นฐานพระประธานเดิมที่ถูกรื้อไป)
                         เดิมชาวบ้านเรียกว่า เอาก้อนดินมาจี่ไฟ (จี่ หมายถึง เผา) ต่อมาชาวบ้านก็ได้พากันตั้งชื่อหมู่บ้านว่า
บ้าน ดินจี่” (เนื่องจากเอาดินมาจี่ไฟ) ตามชื่อก้อนดินที่นำมาเผาไฟ เป็นก้อนอิฐนั่นเอง สมัยก่อนยังไม่มีนามสกุลใช้ ชาวบ้านก็เลยได้ตั้งนามสกุลใช้ชื่อว่า ก้อนดินจี่ “(เป็นนามสกุลที่มีมากที่สุด และนามสกุลอื่นๆอีก) ตามที่ได้มีการเอาก้อนดินมาจี่ไฟนั่นเอง จนถึงทุกวันนี้

......ข้อมูลจาก เฟสบู๊คของพี่ซุ่ม ลูกชายแม่เข็มพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น